วันศุกร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ความหมายและความสำคัญของงานเขียนแบบ

การเขียนแบบเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับงานช่างอุตสาหกรรมที่มีการผลิตเป็นจำนวนมาก  การเขียนแบบจะแสดงให้เห็นภาพซึ่งเป็นต้นแบบของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ  ทั้งนี้การเขียนแบบสามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่  ๆ  ได้ดังนี้

     1.การเขียนแบบทางวิศวกรรม (Engineering  Drawing)
   เป็นการเขียนแบบในทางอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล  สามารถจำแนกประเภทได้ดังนี้
       1.1  การเขียนแบบเครื่องกล  (Machanical  Drawing)                               
       1.2  การเขียนแบบงานไฟฟ้าอีเลคทรอนิคส์  (Electronic  and  Electrical  Drawing)  
       1.3  การเขียนแบบเครื่องยนต์  (Automotive  Drawing)  
       1.4  การเขียนแบบงานแผนที่และช่างสำรวจ  (Map  and  Survey  Drawing)
       1.5  การเขียนแบบงานโลหะและโลหะแผ่น  (Metal  and  Sheet  Metal  Drawing)

     2.การเขียนแบบทางสถาปัตยกรรม (Architectural  Drawing)  เป็นการเขียนแบบทางงานก่อสร้าง  สามารถจำแนกประเภทได้ดังนี้
       2.1  การเขียนแบบโครงสร้าง  (Structural  Drawing)
       2.2  การเขียนแบบสัดส่วนของรูปต่าง ๆ  (Shape  and  Proportion  Drawing)
       2.3  การเขียนรูปตัด  (Section  Drawing)
       2.4  การเขียนภาพร่าง  (Sketching  Drawing)

     3.การเขียนแบบตกแต่งภายใน  (Interior  Design  Drawing)   เป็นการเขียนแบบที่ใช้ในการออกแบบตกแต่งภายใน  สามารถจำแนกประเภทได้ดังนี้   
       3.1  การเขียนแบบเครื่องเรือน  (Furniture  Drawing)
       3.2  การเขียนแบบทัศนียภาพ  (Perspective  Drawing)

4.การเขียนแบบผลิตภัณฑ์  (Product  Drawing)  เป็นการเขียนแบบเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ซึ่งช่วยให้เข้าใจในตัวผลิตภัณฑ์ได้เป็นอย่างดี   สามารถจำแนกประเภทได้ดังนี้
       4.1  การเขียนภาพฉาย  (Orthographic  Drawing)
       4.2  การเขียนแบบภาพสามมิติ  (Three  Dimension  Drawing)
 1. ความหมายและความสำคัญของงานเขียนแบบ

         ความหมายของการเขียนแบบ
                    การเขียนแบบเป็นการถ่ายทอดความคิดของผู้ออกแบบลงบนกระดาษอย่างเป็นระเบียบแบบแผน เพื่อให้บุคคลได้เข้าใจโดยไม่จำกัดระยะเวลาในการศึกษาทำความเข้าใจ การเขียนแบบเป็นภาษาอย่างหนึ่งที่ใช้กันในงานช่างหรืองานอุตสาหกรรมเป็นภาษาที่ถ่ายทอดความคิดหรือความต้องการของผู้ออกแบบไปให้ผู้อื่นได้ทราบและเข้าใจได้อย่างถูกต้องไม่คลาดเคลื่อนโดยแบบที่เขียนขึ้นจะเป็นสื่อกลางที่จะนำความคิดไปสร้างได้อย่างถูกต้อง อันจะเป็นการประหยัดและได้งานที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการ อย่างไรก็ตามเพื่อให้ได้ความเข้าใจที่ตรงกันการเขียนแบบจะต้องเป็นภาษาสากล โดยเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ และรูปแบบต่าง ๆ จะต้องเข้าใจได้ง่าย   แม้แต่ผู้ที่ไม่ได้ศึกษาวิชาเขียนแบบก็สามารถเข้าใจได้พอสมควร
       ความสำคัญของการเขียนแบบ
                      ในงานช่างอุตสาหกรรม “แบบงาน”   เป็นหัวใจสำคัญหรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นภาษาสากลที่ใช้แสดงหรือสื่อความหมายของงานที่จะสร้างหรือต้องการผลิตขึ้นมา ภาพหรือรูปร่างที่เรียกว่าแบบงานนั้น เขียนขึ้นโดยใช้เส้นชนิดต่าง ๆ สัญลักษณ์และเครื่องหมายเฉพาะอื่น ๆ เมื่อประกอบกันขึ้นมาเป็นรูปทรงสามารถใช้สื่อความหมายให้ผู้เกี่ยวข้องได้เห็นรูปร่าง ขนาด ลักษณะของผิวงานชนิดของวัสดุ เข้าใจวิธีการและขั้นตอนในการสร้างหรือการผลิต
     นอกจากนี้ผู้เกี่ยวข้องยังสามารถนำแบบงานมาคำนวณหาปริมาณของวัสดุ ประมาณราคาและระยะเวลาในการสร้างหรือผลิตงานนั้นได้ เป็นการยากที่จะระบุว่าอาชีพใดที่ไม่ต้องการความสามารถในการอ่านแบบและเข้าใจแบบ การที่จะสร้างอาคารที่พักอาศัย โต๊ะ เก้าอี้ ฯลฯ หรือของอื่นใดที่ผลิตขึ้นในโรงงานอุตสาหกรรม ต้องอาศัยการออกแบบและเขียนแบบขึ้นมาก่อน เช่น อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ บริษัทจะต้องออกแบบเป็นรุ่น ๆ ซึ่งต้องใช้วิศวกรหลากหลายสาขาในการดำเนินการ

การเขียนภาพฉาย

การเขียนภาพฉาย           การเขียนภาพฉาย เป็นวิธีเขียนอีกแบบหนึ่งที่เขียนแล้วสามารถมองเห็นลักษณะและรูปทรงของสิ่งนั้นๆ ได้ง่ายตามความเป็นจริง เพราะแบบงานที่จะนำไปใช้ผลิตจะต้องเป็นแบบที่มีรายละเอียดครบถ้วน วิธีการเขียนภาพฉายนั้นจะต้องเขียนลักษณะรูปทรงครบทุกด้าน คือด้านบน ด้านล่าง ด้านข้างซ้าย ด้านข้างขวา ด้านหน้า และด้านหลัง แต่ถ้าเป็นรูปทรงที่มีลักษณะด้านตรงข้ามเหมือนกันก็นิยมเขียนเพียง 3 ด้าน คือ ด้านบน ด้านหน้า และด้านข้าง
        ลำดับขั้นการเขียนแบบภาพฉาย
ภาพตู้ยา
        1.1  ให้ภาพที่มีรายละเอียดมากที่สุดเป็นด้านหน้า
                                                         
         1.2  ร่างเส้นฉายภาพด้วยเส้นบาง (เส้นสีฟ้า) ไปยังด้านบนเพื่อที่ต้องการทราบระยะว่ามีขนาดความยาวเท่ากับด้านหน้า
         1.3  เขียนภาพด้านบนให้อยู่ทางด้านบนของภาพด้านหน้า
         1.4  ร่างเส้นฉาย (เส้นสีฟ้า) จากภาพด้านหน้าไปยังด้านข้างโดยให้มีความสูงเท่ากับภาพด้านหน้าส่วนความกว้างของภาพด้านข้าง ให้ร่างเส้นฉายลงมาตัดกับเส้นที่เอียงทำมุม 45 องศา จากจุดตัดกับเส้น 45 องศา ให้ร่างฉายมายังภาพด้านบน (เส้นสีแดง)
         1.5  ลบเส้นร่าง(เส้นสีฟ้าและสีแดง) ออกใ้ห้หมด
         1.6  เติมรายละเอียดโดยการเขียนเส้นบอกขนาดของภาพ ด้วยเส้นบอกขนาดและเขียนกำกับใต้ภาพว่าเป็นภาพฉายด้านไหน
2.  การเขียนแบบภาพออบลิค
            รูปออบลิคเป็นแบบภาพสามมิติอีกชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายกับรูปไอโซเมตริก ส่วนที่แตกต่างกันคือ  ภาพออบลิคจะแสดงด้านหน้าตรงๆ ส่วนด้านข้างจะทำมุม 45 องศา เพียงด้านเดียว คือด้านขวามือ  เนื่องจากภาพออบลิคแสดงด้านหน้าได้ชัดเจนดี  จึงนิยมเขียนภาพที่มีรายละเอียดด้านหน้ามาก ๆ
    ลำดับขั้นการเขียนแบบภาพออบลิค
    2.1      ให้เขียนภาพด้านหน้าก่อน
    2.2      ขีดเส้นด้านข้าง 45 องศา

    2.3      ขีดเส้นตั้งฉากและเส้นระนาบให้ครบ


    2.4      จะได้ภาพออบลิค

     ข้อสังเกตในการเขียนแบบภาพออบลิค
                    1.  มุมที่ใช้ในการเขียนแบบภาพออบลิคจะมีเพียง 2 มุมเท่านั้นคือ 45, 90  เส้นที่ขีดทำมุมด้านขวามือจะเป็นมุม 45 องศา  ส่วนเส้นที่ลากขึ้นหรือลากลงจะเป็นมุม 90 องศา
                    2.  เส้นที่ขีดจะเป็นเส้นขนานกันโดยตลอดคือ เส้นที่ลากทำมุมด้านขวาก็จะขนานกันกับด้านขวา เส้นที่ลากด้านซ้ายเป็นเส้นระนาบ และเส้นที่ลากขึ้นหรือลงก็จะขนานกัน
                    3.  การเขียนเส้นระนาบเส้นแรกควรให้อยู่ด้านล่างเพราะภาพที่เขียนจะอยู่ด้านบนและควรคำนึงถึงความสูงของภาพด้วย
                    4.  ก่อนที่จะเขียนเส้นตั้งฉากจะต้องคำนึงถึงความยาวด้านหน้าของภาพด้วย

    ตัวอย่างภาพออบบริค
    ที่มา : หนังสือเรียนงานช่างม.1-ม.3 สำนักพิมพ์วัฒนาพานิชย์
    3. การเขียนภาพไอโซเมตริก
    การเขียนแบบภาพไอโซเมตริกเป็นภาพลักษณะสามมิติอีกแบบหนึ่งของการเขียนแบบ  มีลักษณะเป็นภาพที่มองเห็นจากมุมที่กำหนดเป็นจุดเริ่มต้น  การสร้างภาพไอโซเมตริกนี้จึงเป็นการวัดเอาขนาดกว้าง ยาว ของด้านต่าง ๆ มาเป็นขนาดในภาพนั้นเอง  การเขียนแบบภาพไอโซเมตริกนี้จะแสดงการเขียนโดยใช้มุมทั้งสองข้างเท่ากัน คือ เป็นมุม 30 องศา โดยวัดจากเส้นระนาบ

    ลำดับขั้นตอนการเขียนแบบภาพไอโซเมตริก
       3.1     ขีดเส้นระนาบ
                                                             
       3.2     ขีดเส้นตั้งฉากและ 30 องศา ซ้ายและขวา
        3.3      ขีดเส้นตั้งฉากและ 30 องศา ซ้ายและขวา
        3.4    ขีดเส้น 30 องศา ซ้ายและขวา
        ข้อสังเกตในการเขียนแบบภาพไอโซเมตริก
                   1.   มุมที่ใช้ในการเขียนแบบภาพไอโซเมตริกนี้จะมีเพียง 2 มุมเท่านั้นคือมุม 30 และ 90  กล่าวคือ เส้นที่ขีดทำมุมด้านซ้ายและขวา จะทำมุม 30 องศา  ส่วนเส้นที่ขีดขึ้นหรือขีดลงจะเป็นมุม 90 องศา
                   2.   เส้นที่ขีดจะเป็นเส้นขนานกันโดยตลอดคืนเส้นที่ทำมุมด้านซ้ายก็จะขนานกัน เส้นที่ลากด้านขวากจะขนานกัน และเส้นตั้งฉากก็จะขนานกัน
                   3.   การเขียนเส้นระนาบเส้นแรกควรให้อยู่ด้านล่างเพราะภาพที่เขียนจะอยู่ด้านบนและควรคำนึงถึงความสูงของภาพที่จะเขียนด้วยเพื่อไม่ให้ภาพที่เขียนล้นกรอบกระดาษเขียนแบบ
                   4.   ก่อนที่จะเขียนเส้นตั้งฉากจะต้องดูก่อนว่าภาพเอียงไปด้านใด หากภาพที่จะเขียนเอียงด้านซ้ายเส้นตั้งฉากจะต้องอยู่ด้านขวา เป็นต้น

      ตัวอย่างภาพไอโซเมตริก
      ที่มา : หนังสือเรียนงานช่างม.1-ม.3 สำนักพิมพ์วัฒนาพานิชย์
    การอ่านค่าความยาวและมาตราส่วน
    บอกขนาดของชิ้นงาน ที่มา : http://kruning.cocons.co.th/index.php/vocation/drawing/ 
      การอ่านค่าความยาว  งานเขียนแบบแบ่งการวัดขนาดเป็น 2 ระบบใหญ่ ๆ คือ
      1.  ระบบนิ้ว ( ระบบอังกฤษ )  การวัดระบบนี้จะใช้หน่วยเป็นนิ้ว
      2.  ระบบเมตริก  การวัดระบบนี้ใช้หน่วยเป็นมิลลิเมตร  เซนติเมตร  เมตร
                 มาตราส่วน ( SCALE ) หมายถึง อัตราที่ใช้ย่อหรือขยายส่วน
                 การเขียนแบบโดยทั่วไป ภาพที่เขียนแบบจะมีขนาดที่สัมพันธ์พอเหมาะกับขนาดกระดาษเขียนแบบเสมอ เมื่อมองภาพแล้วเห็นรายละเอียดได้ชัดเจนสมบูรณ์ ฉะนั้นการเลือกใช้มาตราส่วนที่เหมาะสมกับขนาดกระดาษเขียนแบบ ผู้เขียนแบบจึงต้องควรคำนึงถึงมาก

      มาตราส่วน แบ่งออกเป็น 3 ชนิด
      1.  มาตราส่วนย่อ  ( BRIEF SCALE ) เช่น 1 : 10 อ่านว่า  หนึ่งต่อสิบ  หมายถึง ของจริง 10 ส่วน เขียนลงในกระดาษเขียนแบบ 1 ส่วน
      2.  มาตราส่วนขยาย ( EXTENDED SCALE ) เช่น 10 : 1 อ่านว่า  สิบต่อหนึ่ง  หมายถึง ของจริง 1 ส่วน เขียนลงในกระดาษเขียนแบบ 10 ส่วน
      3.  มาตราส่วนเท่าของจริง ( FULL SCALE ) เช่น 1 : 1 อ่านว่า  หนึ่งต่อหนึ่ง  หมายถึง ของจริง 1 ส่วน เขียนลงในกระดาษเขียนแบบ 1 ส่วน
                สำหรับมุมต่าง ๆ ที่มีอยู่ในแบบไม่ว่าจะเป็นมุมตรงไหนก็ตาม จะไม่มีผลต่อการใช้มาตราส่วน กล่าวคือมุมไม่ต้องทำการย่อหรือขยายแต่ประการใด เช่น มุม 60 ไม่ว่าจะใช้มาตราส่วนย่อหรือมาตราส่วนขยาย มุม 60 ก็ยังเป็นมุม 60 อย่างเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
                สำหรับการเขียนค่าของตัวเลขบอกขนาด  ก็เช่นเดียวกันกับมุมต่าง ๆ ไม่ว่าจะใช้มาตราส่วนย่อหรือขยายก็ตาม  การกำหนดขนาดจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น  ขนาดความยาวของวัตถุ 15 เซนติเมตร  มาตราส่วนไม่ว่าจะย่อหรือขยาย  การเขียนตัวเลขบอกขนาดก็เขียน 15 เซนติเมตรเท่าเดิม
      ตัวอย่าง เช่นมาตราส่วนปกติ  1: 1     1 : 1  หมายความว่า ขนาดที่เขียนเท่ากับขนาดจริงของชิ้นงาน
    ขนาดที่เขียนแบบ                ชิ้นงานจริง ที่มา : http://kruning.cocons.co.th/index.php/vocation/drawing/ 
      มาตราส่วนลดหรือย่อ  1 : 2, 1 : 5, 1 : 10, 1 : 20, 1 : 50, 1 : 100 1 : 200, 1 : 500, 1 : 1,000 , 1 : 2,000,1 : 5,000  1 : 10,000
      1 : 2  หมายความว่าเป็นการเขียนย่อขนาดภาพให้เล็กลงเช่น ขนาดที่เขียน 10 มม. ขนาดจริง 20 มม.

     
    บอกขนาดของชิ้นงาน ที่มา : 
    http://kruning.cocons.co.th/index.php/vocation/drawing/ 
      มาตราส่วนขยาย  2 : 1,   5 : 1,   10 : 1,   20 : 1,    50 : 1,  2 : 1  หมายความว่าเป็นการเขียนขยายภาพให้ใหญ่ขึ้น เช่นขนาดที่เขียน 40 มม. ขนาดจริง 20  
     ขนาดที่เขียนแบบ                    ชิ้นงานจริง ที่มา : http://kruning.cocons.co.th/index.php/vocation/drawing/
        สำหรับการใช้ในกรณีพิเศษ มาตราส่วนขยาย หรือมาตราส่วนลด สามารถคูณ หาร ด้วยตัวเลขจำนวนเต็มของฐานสิบ หลาย
    การกำหนดขนาดมิติ
    มาตรฐานการกำหนดขนาดมิติ ตาม DIN 406-11 และ DIN ISO 128-22             
      ขนาดชิ้นงาน
     
     มาตรฐานการกำหนดขนาดมิติ
    ที่มา : http://kruning.cocons.co.th/index.php/vocation/drawing/
      -  กำหนดด้วยหน่วยมิลลิเมตร โดยไม่ต้องเขียนหน่วยลงไปในแบบ
      -  การกำหนดขนาดสำหรับหน่วยอื่น เช่น นิ้ว,เมตร ให้เขียนหน่วยลงไปในแบบด้วยการกำหนดขนาดประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้ คือ
       เส้นช่วยบอกขนาด
     
    เส้นช่วยบอกขนาด
    ที่มา : http://kruning.cocons.co.th/index.php/vocation/drawing/
      -  มีความหนาเส้น 0.25 มิลลิเมตร  เป็นเส้นเต็มบาง  เขียนต่อจากขอบของชิ้นงาน และเขียนเลยหัวลูกศรประมาณ 2 มิลลิเมตร ส่วนมากเขียนตั้งฉากกับเส้นบอกขนาด
     
    เส้นบอกขนาด
    ที่มา : http://kruning.cocons.co.th/index.php/vocation/drawing/
      -   เส้นบอกขนาดมีความหนาเส้น 0.25 มิลลิเมตร เป็นเส้นเต็มบาง และมีหัวลูกศรบริเวณหัวและท้ายเส้น
      -   เส้นบอกขนาด จะเขียนเส้นตั้งฉากกับเส้นช่วยกำหนดขนาด
      -   เส้นบอกขนาดห่างจากขอบชิ้นงาน  10 มิลลิเมตร และมีระยะห่างระหว่างเส้นบอกขนาดด้วยกัน 7 มิลลิเมตร
      -   เส้นบอกขนาดเส้นที่สั้นที่สุดอยู่ใกล้แบบงานมากที่สุด
      -   การบอกขนาดที่มีทรงสมมาตร  บอกตามแนวขวางเส้นศูนย์กลางที่อยู่เลยขอบชิ้นงานออกไปประมาณ 2 – 3  มิลลิเมตร  ชิ้นงานที่เป็นแผ่นบางเขียนเพียงด้านเดียว ความหนาของวัสดุชิ้นงานให้ใส่ตัวอักษร T กำกับ
       ตัวเลขบอกขนาด
     
    ตัวเลขบอกขนาด
    ที่มา : http://kruning.cocons.co.th/index.php/vocation/drawing/
        -   ขนาดตัวเลขบอกขนาด มีขนาดอย่างน้อย 3.5 มิลลิเมตร ใส่ไว้เหนือเส้นบอกขนาด โดยอ่านได้จากข้างล่างหรือขวามือ เมื่อแบบอยู่ในตำแหน่งอ่าน (ทิศทางอ่านของหัวกระดาษ)
      -   กรณีที่มีเส้นขนานหลายเส้น หรือเส้นบอกขนาดอยู่ในแนวเดียวกัน ให้เขียนตัวเลยกำหนดขนาดสลับกับลูกศร
      -   ถ้าพื้นที่เขียนตัวเลขจำกัด  อนุญาตให้เขียนเส้นชี้บอกขนาด หรือตัวเลขบอกขนาดไว้บนเส้นช่วยบอกขนาดที่ต่อเลยออกไป

ภาพ 3 มิติ (3D Objects)

ภาพ  3  มิติ  (3D  Objects)
 

ในทางช่างภาษาที่ใช้ในการสื่อความหมายหรือสั่งงาน คือ แบบงาน  ซึ่งจะแยกออกไปในหลายด้าน  เช่น  สถาปัตย์, สำรวจ, ไฟฟ้า  และอื่น ๆ อีกมาก ซึ่งสาขาทั้งหมดล้วนใช้แบบงานเป็นตัวสั่งงานและสื่อความหมาย  ในทางเครื่องกลก็เช่นกัน  แบบที่ใช้คือ แบบเครื่องกล  และในการเขียนแบบทางเครื่องกลสามารถเขียนได้หลายวิธี  เช่น  ภาพ 3  มิติ  แบบภาพฉาย
ภาพ  3  มิติ แสดงลักษณะรูปร่าง  และรูปทรงได้เหมือนของจริงมาก  คือ  สามารถแสดงรายละเอียดได้ถึง  3  ด้าน  เหมือนกับได้เห็นชิ้นงานจริง
 
  



ภาพที่  6.1  ลักษณะของภาพ  3  มิติ
 

ภาพ  3  มิติ  สามารถแสดงให้เห็นรายละเอียดทั้งรูปร่างและรูปทรง  ลักษณะการประกอบกันอยู่ของชิ้นส่วนต่าง ๆ (ภาพประกอบ)  แต่ละชิ้น  ทั้งหมดในภาพเดียวกันทั้งหมด  สามารถทำความเข้าใจลักษณะการทำงานของเครื่องจักรนั้น ๆ ได้ดียิ่งขึ้น



6.1         ชนิดและประเภทของภาพ  3  มิติ

ภาพ  3  มิติ  สามารถเขียนได้หลายแบบ  ขึ้นอยู่กับลักษณะงานและความเหมาะสมแต่ละแบบ  ซึ่งภาพ 3  มิติ  สามารถแบ่งออกเป็น  3  ประเภทใหญ่  ดังนี้
1.       ภาพแอกโซโนเมตริก  (Axsonometric)  เป็นภาพสามมิติที่สามารถแบ่งออกได้เป็น  3  ชนิดด้วยกันคือ
·       ภาพไอโซเมตริก  (Isometric)
 
 

 
ภาพที่  6.2  ลักษณะของภาพไอโซเมตริก
 

·       ภาพไดเมตริก  (Dimetric)
 
 


 ภาพที่  6.3  ลักษณะของภาพไดเมตริก
 

·       ภาพไตรเมตริก  (Trimetric)
 


 
ภาพที่  6.4  ลักษณะของภาพไตรเมตริก

2.       ภาพออบลิค  (Oblique)  เป็นภาพที่มุมเอียงด้านเดียว  แบ่งออกเป็น  2  ชนิด  คือ
·       แบบเต็มส่วน  (Cavalier)  มุมเอียง  45  องศา  สัดส่วนทั้ง  3  ด้านเป็น  1:1:1
 
 




ภาพที่  6. ลักษณะของภาพออบลิคแบบเต็มส่วน
 
 

·       แบบครึ่งส่วน  (Cabinet)  มุมเอียง  45  องศา  สัดส่วนทั้ง  3  ด้าน  เป็น  1:1:0:5
 
 
 
ภาพที่  6.6  ลักษณะของภาพออบลิคแบบครึ่งส่วน
 

3.       ภาพทัศนียภาพ  (Perspective)
เป็นภาพที่เป็นจริงตามที่มองเห็น  คือ  ชิ้นงานหรือวัตถุยิ่งอยู่ไกล  ภาพที่มองเห็นจะเล็กลงไปเรื่อย ๆ ดังนั้นภาพทัศนียภาพจะมีความลึกเล็กน้อย  แบ่งออกเป็น  2  ชนิด  คือ
·       แบบจุดรวมสายตาจุดเดียว  (Parallel)
 






ภาพที่  6.7  ลักษณะของภาพทัศนียภาพ  แบบจุดรวมสายตาจุดเดียว

·       แบบจุดรวมสายตา  2  จุด  (Angular) 
 




 
ภาพที่  6.8  ลักษณะของภาพทัศนียภาพ  แบบจุดรวมสายตาสองจุด



6.2         การเขียนภาพไอโซเมตริก  (Isometric)

ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงการเขียนแบบ  3  มิติแบบไอโซเมตริกซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1.       ความหมายของภาพไอโซเมตริก
คำว่า  “ไอโซ  (ISO)”  เป็นภาษากรีกซึ่งแปลว่า  “เท่ากันหรือเหมือนกัน”  และคำว่า  “เมตริก”  (Metric)  หมายถึง  หน่วยการวัด  เมื่อนำคำทั้งสองมารวมกันเป็น  ไอโซเมตริก  (Isometric)  จึงหมายถึง  ภาพ  3  มิติ  ที่มีด้านท่ากันทุกด้าน  ดังนั้นภาพไอโซเมตริกจึงเป็นภาพ  3  มิติที่เขียนง่าย  ที่มีมุมเอียงและสัดส่วนแน่นอน  ภาพไอโซเมตริกนี้จะแสดงให้เห็นถึงด้านหน้า  ด้านข้าง  และด้านบน  โดยที่ขอบงานจะตั้งตรงขึ้นในแนวดิ่ง  และชิ้นงานจะถูกสมมติให้วางเอียงไปด้านหน้าประมาณ  35 องศา  16  ลิปดา  ซึ่งจะได้ภาพด้านข้างเอียงทำมุม  30  องศา  กับแนวระดับเท่ากันทั้งสองด้าน
การเขียนไอโซเมตริกจะต้องใช้เครื่องมือช่วยและต้องเขียนให้อยู่ในแนวแกนหลักเสมอ  ซึ่งแนวแกนหลักนี้สามารถที่จะแสดงการเขียนให้กลับขึ้น-ลง  ได้ดังตัวอย่างในภาพที่  6.9
 


 
ภาพที่  6.9  แสดงลักษณะของภาพไอโซเมตริก
 

2.       สัดส่วนของภาพไอโซเมตริก
ภาพไอโซเมตริกที่ได้จากการหมุนชิ้นงาน  ขนาดความยาวของแต่ละด้านที่เอียงขึ้นนั้น  จะสั้นลงประมาณ  19.45 %  ของความยาวจริง  เช่น  ถ้าชิ้นงานยาว  100  มม.  ภาพที่ได้จะยาวเพียง  80.65  มม.  เท่านั้น  ถ้าชิ้นงานจริงมีขนาดเท่ากันทุดด้านจะได้ภาพที่มีความยาว  80.65  มม.  เท่ากันทุกด้านเช่นกัน และจากการหมุนภาพนั้น  จะได้ภาพที่มีความยาวเท่ากันทุกด้าน  ซึ่งจะตรงกับความหมายของคำว่า ไอโซ  พอดี  ดังนั้นจึงเรียกภาพ 3  มิติชนิดนี้ว่า  “ภาพไอโซเมตริก”
 
 



 
ภาพที่  6.10  แสดงการเปรียบเทียบสัดส่วนของภาพ

จากขนาดจริงของภาพไอโซเมตริกที่ขนาดลดลง  19.45%  หากนำสัดส่วนจริงนี้ไปเขียนจะทำให้เกิดความยุ่งยากในการบวกและลบตัวเลข  ดังนั้นเพื่อความสะดวกและรวดเร็วในงานเขียนแบบจึงกำหนดให้ว่าสัดส่วนของด้านบนภาพไอโซเมตริกให้เขียนเป็น  1  เท่าของความจริง  เช่น  ถ้าความยาวจริงของชิ้นงาน  100  มม.  ก็ให้เขียน  100  มม.  เท่ากันดังตัวอย่างในภาพที่  6.10  (ค)

3.       การเขียนภาพไอโซเมตริกจากภาพฉาย
ในหัวข้อนี้จะยกตัวอย่างการเขียนภาพไอโซเมตริกจากภาพฉายดังนี้
1.    แบบทรงเหลี่ยม  ลักษณะชิ้นงานแบบทรงเหลี่ยมนี้  เส้นรูปของภาพจะอยู่ในแนวแกนหลักของภาพไอโซเมตริกทั้งหมด  โดยมีขั้นตอนในการเขียนดังตารางที่  6.1

ตารงที่  6.1  แสดงการเขียนภาพไอโซเมตริกจากภาพฉายแบบทรงเหลี่ยม
 
 
 


2.    แบบทรงเหลี่ยมตัดเฉียง  ลักษณะภาพของชิ้นงานแบบนี้  เส้นขอบของภาพของส่วนที่เฉียงจะไม่อยู่ในแนวแกนของภาพ  แต่จะเอียงอยู่ตามสัดส่วนของการตัดนั้น  ขั้นตอนในการเขียนแสดงไว้ในตารางที่  6.2

ตารงที่  6.2  แสดงการเขียนภาพไอโซเมตริกจากภาพฉายแบบทรงเหลี่ยมตัดเฉียง
 
 

 


ภาพที่  6.11  แสดงขั้นตอนการเขียนไอโซเมตริกตัดเฉียง  2  ด้านตามแนวแกน
 
 
 
 
 

 
 
ภาพ  6.12  แสดงขั้นตอนการเขียนภาพไอโซเมตริกตามมุมที่กำหนด
 
 

การเขียนภาพไอโซเมตริกตัดเฉียงตามมุมที่กำหนดนั้น  เราไม่สามารถวัดมุมที่ต้องการลงบนภาพไอโซเมตริกได้  ทั้งนี้เพราะภาพเอียงมุมต่าง ๆ จะผิดไปจากขนาดจริงเสมอ  ดังนั้นการเขียนจึงจำเป็นอาศัยสัดส่วนของด้านที่อยู่ระหว่างมุมเอียงมากำหนดเป็นองค์ประกอบในการสร้างมุมที่ต้องการ ดังตัวอย่างในภาพที่  6.13
 



ภาพที่  6.13  แสดงการเขียนภาพไอโซเมตริกตัดเฉียงตามมุมของชิ้นงาน


  

  3.    วงกลมภาพไอโซเมตริก  ส่วนของชิ้นงานที่เป็นวงกลม  เช่น  รูหรือเพลา  เมื่อเขียนเป็นภาพไอโซเมตริกส่วนเป็นวงกลมนั้นจะมองเห็นเป็นวงรี  (Ellipse)  ซึ่งการเขียนวงกลมสามารถทำได้ง่าย  ส่วนการเขียนวงรีบนภาพไอโซเมตริกนั้นมีขั้นตอนยุ่งยากกว่า  และมีวิธีการเขียนดังที่แสดงไว้ในตารางที่  6.3 
 
 
ตารางที่  6.3  แสดงการเขียนวงกลมบนภาพไอโซเมตริก
 
 
  
หมายเหตุ  :  การเขียนวงรีด้วยวิธีที่กล่าวมานี้  สัดส่วนของวงรีที่ได้จะไม่ถูกต้องตามสัดส่วนของวงรีจริงแต่ก็อนุโลมให้ใช้ได้  เพราะสัดส่วนผิดไปไม่มาก
 





ภาพที่  6.14  แสดงการเขียนวงรีด้วยฉากสามเหลี่ยม
 
 

4.    การเขียนวงรีด้วยวิธีการถ่ายจุดศูนย์กลาง  การเขียนวงรีแต่ละวงนั้น  โดยปกติจะต้องสร้างกรอบสี่เหลี่ยมขึ้นมาใหม่ทุกวง  แต่ถ้าวงรีหลาย ๆ วงซ้อนกันและร่วมศูนย์กันอยู่ เราสามารถใช้วิธีการถ่ายจุดศูนย์กลางจากวงแรกไปเขียนวงที่ 2 หรือ 3 ได้ในกรณีที่วงรีนั้นมีขนาดเดียวกัน  เช่นการเขียนทรงกระบอกตรง  เป็นต้น  ซึ่งจะทำให้การเขียนสะดวก  รวดเร็วขึ้น

ตารางที่  6.4  แสดงการเขียนวงรีด้วยวิธีการถ่ายจุดศูนย์กลาง
 
 


 



ภาพที่  6.15  แสดงการเขียนวงรีด้วยวิธีการถ่ายจุดศูนย์กลางของทรงกระบอก
 
 
 
5.       การบอกขนาดที่ภาพไอโซเมตริก
การบอกขนาดที่ภาพไอโซเมตริกมีหลักการดังนี้
5.1   ตัวเลขบอกขนาด  จะต้องเขียนให้ตั้งฉากกับแนวดิ่งหรือแนวนอน  และให้เอียงขนานไปกับแนวแกนของภาพไอโซเมตริกดังภาพที่  6.16  และภาพที่  6.18
5.2   เส้นบอกขนาดและเส้นช่วยบอกขนาด  ให้เขียนเช่นเดียวกับภาพฉาย  แต่ที่ภาพไอโซเมตริกจะลากเอียงไปตามแนวแกนเท่านั้น
5.3   หัวลูกศร  การบอกขนาดต่าง ๆ ในภาพไอโซเมตริกนั้น  ของหัวลูกศรให้เขียนเท่ากับการเขียนบนภาพฉายและมีลักษณะเอียงไปตามแนวแกนด้วย
 



                                       ภาพที่  6.16  แสดงการบอกขนาดบนภาพไอโซเมตริก             ภาพที่  6.17  แสดงการเขียนตัวเลขบอกขนาด
                                                                             
                                                                                     ที่ภาพไอโซเมตริก
 
 

ตัวอย่างการเขียนภาพไอโซเมตริกจากภาพฉาย
 



 
ภาพที่  6.18  แสดงตัวอย่างการเขียนภาพไอโซเมตริกจากภาพฉาย
 
 

6.3         การเขียนภาพออบลิก
1.       ความหมายของภาพออบลิก
คำว่า  “ออบลิก”  (Oblique)  แปลว่า  เอียง  เฉียงหรือทแยง  ดังนั้นการเขียนภาพออบลิกจึงหมายถึง  การเขียนภาพ  3  มิติ  ที่เอียงเพียงด้านเดียว  โดยจะเอียงเฉพาะด้านข้างเท่านั้น  ส่วนด้านหน้า จะมองเห็นเป็นภาพฉายเต็มหน้า  โดยมีสัดส่วนเป็น  1:1  กับชิ้นงานจริง  เช่น  วงกลม  f  60  มม.  เมื่อเขียนเป็นภาพด้านหน้าก็จะเห็นเป็นวงกลม f  60  มม. เป็นต้น
 
   

 
ภาพที่  6.19  แสดงรูปร่างลักษณะของภาพออบลิก
 
 

2.       สัดส่วนภาพออบลิก
โดยทั่วไปภาพออบลิกจะมีมุมเอียงเท่าใดก็ได้แต่ต้องน้อยกว่า  90  องศา  ซึ่งที่นิยมเขียนในงานเขียนแบบคือมุมเอียง  45  องศา  ซึ่งลักษณะของภาพออบลิกที่นิยมเขียนมี  2  ลักษณะคือ  แบบเต็มส่วน  (Cavalier  Oblique)  และแบบครึ่งส่วน  (Cabinet  Oblique)
 




ภาพที่  6.20  แสดงชนิดของการเขียนภาพออบลิก
 
 

จากภาพที่  6.20  ภาพออบลิกแบบเต็มส่วน  จะมีสัดส่วนของด้านกว้าง  ยาว หนา เป็น 1:1:1  ส่วนภาพออบลิกแบบครึ่งส่วน  จะมีสัดส่วนทั้ง  3  ของด้านกว้าง  ยาว หนา  เป็น  1:1:0.5

3.       การจัดวางภาพออบลิก
การเขียนภาพออบลิกจะต้องจัดวางภาพให้เหมาะสม  ง่ายต่อการเขียนและมองภาพ  โดยยึดหลักการที่ว่าให้เลือกด้านที่ชัดเจนและแสดงรายละเอียดมากที่สุดเป็นภาพด้านหน้าดังภาพที่  6.21

 



ภาพที่  6.21  แสดงการเปรียบเทียบการจัดวางภาพที่เหมาะสมและไม่เหมาะสม
 
 

4.       การวางตำแหน่งและทิศทางการเขียนภาพออบลิก
การวางตำแหน่งและทิศทางของแนวแกนในการเขียนภาพออบลิก  สามารถทำได้  4  ลักษณะคือ  เอียงขวา  เอียงซ้าย  เอียงขวากลับข้าง  และเอียงซ้ายกลับข้าง  ดังตัวอย่างในภาพที่  6.22
 


 
ภาพที่  6.22  แสดงการวางตำแหน่งและทิศทางของแนวแกนในการเขียนภาพออบลิก




5.       ขั้นตอนการสร้างวงรีบนภาพออบลิก
ในหัวข้อนี้จะยกตัวอย่างการเขียนภาพวงรีที่ด้านบนและด้านข้างขวาของภาพออบลิก
 
  

ภาพที่  6.23  แสดงลักษณะของวงรีบนภาพออบลิก
 

ตารางที่  6.5  แสดงขั้นตอนการสร้างภาพวงรีที่ด้านบนของภาพออบลิก
 
 



ตารางที่  6.6  แสดงขั้นตอนการสร้างภาพวงรีที่ด้านข้างของภาพออบลิก
 
 





6.       การบอกขนาดบนภาพออบลิก
การบอกขนาดบนภาพออบลิกนั้น  มีหลักการเช่นเดียวกันกับการบอกขนาดบนภาพไอโซเมตริกและภาพฉายรวมกันดังตัวอย่างในภาพที่  6.24
 


 
ภาพที่  6.24  แสดงขั้นตอนการเขียนภาพออบลิกและการบอกขนาด
 
 

7.       ตัวอย่างการเขียนภาพออบลิก
ตัวอย่างที่  1  ขั้นตอนเขียนภาพออบลิกจากภาพฉาย
 


 
ภาพที่  6.25  แสดงขั้นตอนการเขียนภาพออบลิก
 
 

ตัวอย่างที่  2  ขั้นตอนการเขียนภาพออบลิกจากภาพฉาย
 




 
ภาพที่  6.26  แสดงขั้นตอนการเขียนภาพออบลิก