วันศุกร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ภาพ 3 มิติ (3D Objects)

ภาพ  3  มิติ  (3D  Objects)
 

ในทางช่างภาษาที่ใช้ในการสื่อความหมายหรือสั่งงาน คือ แบบงาน  ซึ่งจะแยกออกไปในหลายด้าน  เช่น  สถาปัตย์, สำรวจ, ไฟฟ้า  และอื่น ๆ อีกมาก ซึ่งสาขาทั้งหมดล้วนใช้แบบงานเป็นตัวสั่งงานและสื่อความหมาย  ในทางเครื่องกลก็เช่นกัน  แบบที่ใช้คือ แบบเครื่องกล  และในการเขียนแบบทางเครื่องกลสามารถเขียนได้หลายวิธี  เช่น  ภาพ 3  มิติ  แบบภาพฉาย
ภาพ  3  มิติ แสดงลักษณะรูปร่าง  และรูปทรงได้เหมือนของจริงมาก  คือ  สามารถแสดงรายละเอียดได้ถึง  3  ด้าน  เหมือนกับได้เห็นชิ้นงานจริง
 
  



ภาพที่  6.1  ลักษณะของภาพ  3  มิติ
 

ภาพ  3  มิติ  สามารถแสดงให้เห็นรายละเอียดทั้งรูปร่างและรูปทรง  ลักษณะการประกอบกันอยู่ของชิ้นส่วนต่าง ๆ (ภาพประกอบ)  แต่ละชิ้น  ทั้งหมดในภาพเดียวกันทั้งหมด  สามารถทำความเข้าใจลักษณะการทำงานของเครื่องจักรนั้น ๆ ได้ดียิ่งขึ้น



6.1         ชนิดและประเภทของภาพ  3  มิติ

ภาพ  3  มิติ  สามารถเขียนได้หลายแบบ  ขึ้นอยู่กับลักษณะงานและความเหมาะสมแต่ละแบบ  ซึ่งภาพ 3  มิติ  สามารถแบ่งออกเป็น  3  ประเภทใหญ่  ดังนี้
1.       ภาพแอกโซโนเมตริก  (Axsonometric)  เป็นภาพสามมิติที่สามารถแบ่งออกได้เป็น  3  ชนิดด้วยกันคือ
·       ภาพไอโซเมตริก  (Isometric)
 
 

 
ภาพที่  6.2  ลักษณะของภาพไอโซเมตริก
 

·       ภาพไดเมตริก  (Dimetric)
 
 


 ภาพที่  6.3  ลักษณะของภาพไดเมตริก
 

·       ภาพไตรเมตริก  (Trimetric)
 


 
ภาพที่  6.4  ลักษณะของภาพไตรเมตริก

2.       ภาพออบลิค  (Oblique)  เป็นภาพที่มุมเอียงด้านเดียว  แบ่งออกเป็น  2  ชนิด  คือ
·       แบบเต็มส่วน  (Cavalier)  มุมเอียง  45  องศา  สัดส่วนทั้ง  3  ด้านเป็น  1:1:1
 
 




ภาพที่  6. ลักษณะของภาพออบลิคแบบเต็มส่วน
 
 

·       แบบครึ่งส่วน  (Cabinet)  มุมเอียง  45  องศา  สัดส่วนทั้ง  3  ด้าน  เป็น  1:1:0:5
 
 
 
ภาพที่  6.6  ลักษณะของภาพออบลิคแบบครึ่งส่วน
 

3.       ภาพทัศนียภาพ  (Perspective)
เป็นภาพที่เป็นจริงตามที่มองเห็น  คือ  ชิ้นงานหรือวัตถุยิ่งอยู่ไกล  ภาพที่มองเห็นจะเล็กลงไปเรื่อย ๆ ดังนั้นภาพทัศนียภาพจะมีความลึกเล็กน้อย  แบ่งออกเป็น  2  ชนิด  คือ
·       แบบจุดรวมสายตาจุดเดียว  (Parallel)
 






ภาพที่  6.7  ลักษณะของภาพทัศนียภาพ  แบบจุดรวมสายตาจุดเดียว

·       แบบจุดรวมสายตา  2  จุด  (Angular) 
 




 
ภาพที่  6.8  ลักษณะของภาพทัศนียภาพ  แบบจุดรวมสายตาสองจุด



6.2         การเขียนภาพไอโซเมตริก  (Isometric)

ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงการเขียนแบบ  3  มิติแบบไอโซเมตริกซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1.       ความหมายของภาพไอโซเมตริก
คำว่า  “ไอโซ  (ISO)”  เป็นภาษากรีกซึ่งแปลว่า  “เท่ากันหรือเหมือนกัน”  และคำว่า  “เมตริก”  (Metric)  หมายถึง  หน่วยการวัด  เมื่อนำคำทั้งสองมารวมกันเป็น  ไอโซเมตริก  (Isometric)  จึงหมายถึง  ภาพ  3  มิติ  ที่มีด้านท่ากันทุกด้าน  ดังนั้นภาพไอโซเมตริกจึงเป็นภาพ  3  มิติที่เขียนง่าย  ที่มีมุมเอียงและสัดส่วนแน่นอน  ภาพไอโซเมตริกนี้จะแสดงให้เห็นถึงด้านหน้า  ด้านข้าง  และด้านบน  โดยที่ขอบงานจะตั้งตรงขึ้นในแนวดิ่ง  และชิ้นงานจะถูกสมมติให้วางเอียงไปด้านหน้าประมาณ  35 องศา  16  ลิปดา  ซึ่งจะได้ภาพด้านข้างเอียงทำมุม  30  องศา  กับแนวระดับเท่ากันทั้งสองด้าน
การเขียนไอโซเมตริกจะต้องใช้เครื่องมือช่วยและต้องเขียนให้อยู่ในแนวแกนหลักเสมอ  ซึ่งแนวแกนหลักนี้สามารถที่จะแสดงการเขียนให้กลับขึ้น-ลง  ได้ดังตัวอย่างในภาพที่  6.9
 


 
ภาพที่  6.9  แสดงลักษณะของภาพไอโซเมตริก
 

2.       สัดส่วนของภาพไอโซเมตริก
ภาพไอโซเมตริกที่ได้จากการหมุนชิ้นงาน  ขนาดความยาวของแต่ละด้านที่เอียงขึ้นนั้น  จะสั้นลงประมาณ  19.45 %  ของความยาวจริง  เช่น  ถ้าชิ้นงานยาว  100  มม.  ภาพที่ได้จะยาวเพียง  80.65  มม.  เท่านั้น  ถ้าชิ้นงานจริงมีขนาดเท่ากันทุดด้านจะได้ภาพที่มีความยาว  80.65  มม.  เท่ากันทุกด้านเช่นกัน และจากการหมุนภาพนั้น  จะได้ภาพที่มีความยาวเท่ากันทุกด้าน  ซึ่งจะตรงกับความหมายของคำว่า ไอโซ  พอดี  ดังนั้นจึงเรียกภาพ 3  มิติชนิดนี้ว่า  “ภาพไอโซเมตริก”
 
 



 
ภาพที่  6.10  แสดงการเปรียบเทียบสัดส่วนของภาพ

จากขนาดจริงของภาพไอโซเมตริกที่ขนาดลดลง  19.45%  หากนำสัดส่วนจริงนี้ไปเขียนจะทำให้เกิดความยุ่งยากในการบวกและลบตัวเลข  ดังนั้นเพื่อความสะดวกและรวดเร็วในงานเขียนแบบจึงกำหนดให้ว่าสัดส่วนของด้านบนภาพไอโซเมตริกให้เขียนเป็น  1  เท่าของความจริง  เช่น  ถ้าความยาวจริงของชิ้นงาน  100  มม.  ก็ให้เขียน  100  มม.  เท่ากันดังตัวอย่างในภาพที่  6.10  (ค)

3.       การเขียนภาพไอโซเมตริกจากภาพฉาย
ในหัวข้อนี้จะยกตัวอย่างการเขียนภาพไอโซเมตริกจากภาพฉายดังนี้
1.    แบบทรงเหลี่ยม  ลักษณะชิ้นงานแบบทรงเหลี่ยมนี้  เส้นรูปของภาพจะอยู่ในแนวแกนหลักของภาพไอโซเมตริกทั้งหมด  โดยมีขั้นตอนในการเขียนดังตารางที่  6.1

ตารงที่  6.1  แสดงการเขียนภาพไอโซเมตริกจากภาพฉายแบบทรงเหลี่ยม
 
 
 


2.    แบบทรงเหลี่ยมตัดเฉียง  ลักษณะภาพของชิ้นงานแบบนี้  เส้นขอบของภาพของส่วนที่เฉียงจะไม่อยู่ในแนวแกนของภาพ  แต่จะเอียงอยู่ตามสัดส่วนของการตัดนั้น  ขั้นตอนในการเขียนแสดงไว้ในตารางที่  6.2

ตารงที่  6.2  แสดงการเขียนภาพไอโซเมตริกจากภาพฉายแบบทรงเหลี่ยมตัดเฉียง
 
 

 


ภาพที่  6.11  แสดงขั้นตอนการเขียนไอโซเมตริกตัดเฉียง  2  ด้านตามแนวแกน
 
 
 
 
 

 
 
ภาพ  6.12  แสดงขั้นตอนการเขียนภาพไอโซเมตริกตามมุมที่กำหนด
 
 

การเขียนภาพไอโซเมตริกตัดเฉียงตามมุมที่กำหนดนั้น  เราไม่สามารถวัดมุมที่ต้องการลงบนภาพไอโซเมตริกได้  ทั้งนี้เพราะภาพเอียงมุมต่าง ๆ จะผิดไปจากขนาดจริงเสมอ  ดังนั้นการเขียนจึงจำเป็นอาศัยสัดส่วนของด้านที่อยู่ระหว่างมุมเอียงมากำหนดเป็นองค์ประกอบในการสร้างมุมที่ต้องการ ดังตัวอย่างในภาพที่  6.13
 



ภาพที่  6.13  แสดงการเขียนภาพไอโซเมตริกตัดเฉียงตามมุมของชิ้นงาน


  

  3.    วงกลมภาพไอโซเมตริก  ส่วนของชิ้นงานที่เป็นวงกลม  เช่น  รูหรือเพลา  เมื่อเขียนเป็นภาพไอโซเมตริกส่วนเป็นวงกลมนั้นจะมองเห็นเป็นวงรี  (Ellipse)  ซึ่งการเขียนวงกลมสามารถทำได้ง่าย  ส่วนการเขียนวงรีบนภาพไอโซเมตริกนั้นมีขั้นตอนยุ่งยากกว่า  และมีวิธีการเขียนดังที่แสดงไว้ในตารางที่  6.3 
 
 
ตารางที่  6.3  แสดงการเขียนวงกลมบนภาพไอโซเมตริก
 
 
  
หมายเหตุ  :  การเขียนวงรีด้วยวิธีที่กล่าวมานี้  สัดส่วนของวงรีที่ได้จะไม่ถูกต้องตามสัดส่วนของวงรีจริงแต่ก็อนุโลมให้ใช้ได้  เพราะสัดส่วนผิดไปไม่มาก
 





ภาพที่  6.14  แสดงการเขียนวงรีด้วยฉากสามเหลี่ยม
 
 

4.    การเขียนวงรีด้วยวิธีการถ่ายจุดศูนย์กลาง  การเขียนวงรีแต่ละวงนั้น  โดยปกติจะต้องสร้างกรอบสี่เหลี่ยมขึ้นมาใหม่ทุกวง  แต่ถ้าวงรีหลาย ๆ วงซ้อนกันและร่วมศูนย์กันอยู่ เราสามารถใช้วิธีการถ่ายจุดศูนย์กลางจากวงแรกไปเขียนวงที่ 2 หรือ 3 ได้ในกรณีที่วงรีนั้นมีขนาดเดียวกัน  เช่นการเขียนทรงกระบอกตรง  เป็นต้น  ซึ่งจะทำให้การเขียนสะดวก  รวดเร็วขึ้น

ตารางที่  6.4  แสดงการเขียนวงรีด้วยวิธีการถ่ายจุดศูนย์กลาง
 
 


 



ภาพที่  6.15  แสดงการเขียนวงรีด้วยวิธีการถ่ายจุดศูนย์กลางของทรงกระบอก
 
 
 
5.       การบอกขนาดที่ภาพไอโซเมตริก
การบอกขนาดที่ภาพไอโซเมตริกมีหลักการดังนี้
5.1   ตัวเลขบอกขนาด  จะต้องเขียนให้ตั้งฉากกับแนวดิ่งหรือแนวนอน  และให้เอียงขนานไปกับแนวแกนของภาพไอโซเมตริกดังภาพที่  6.16  และภาพที่  6.18
5.2   เส้นบอกขนาดและเส้นช่วยบอกขนาด  ให้เขียนเช่นเดียวกับภาพฉาย  แต่ที่ภาพไอโซเมตริกจะลากเอียงไปตามแนวแกนเท่านั้น
5.3   หัวลูกศร  การบอกขนาดต่าง ๆ ในภาพไอโซเมตริกนั้น  ของหัวลูกศรให้เขียนเท่ากับการเขียนบนภาพฉายและมีลักษณะเอียงไปตามแนวแกนด้วย
 



                                       ภาพที่  6.16  แสดงการบอกขนาดบนภาพไอโซเมตริก             ภาพที่  6.17  แสดงการเขียนตัวเลขบอกขนาด
                                                                             
                                                                                     ที่ภาพไอโซเมตริก
 
 

ตัวอย่างการเขียนภาพไอโซเมตริกจากภาพฉาย
 



 
ภาพที่  6.18  แสดงตัวอย่างการเขียนภาพไอโซเมตริกจากภาพฉาย
 
 

6.3         การเขียนภาพออบลิก
1.       ความหมายของภาพออบลิก
คำว่า  “ออบลิก”  (Oblique)  แปลว่า  เอียง  เฉียงหรือทแยง  ดังนั้นการเขียนภาพออบลิกจึงหมายถึง  การเขียนภาพ  3  มิติ  ที่เอียงเพียงด้านเดียว  โดยจะเอียงเฉพาะด้านข้างเท่านั้น  ส่วนด้านหน้า จะมองเห็นเป็นภาพฉายเต็มหน้า  โดยมีสัดส่วนเป็น  1:1  กับชิ้นงานจริง  เช่น  วงกลม  f  60  มม.  เมื่อเขียนเป็นภาพด้านหน้าก็จะเห็นเป็นวงกลม f  60  มม. เป็นต้น
 
   

 
ภาพที่  6.19  แสดงรูปร่างลักษณะของภาพออบลิก
 
 

2.       สัดส่วนภาพออบลิก
โดยทั่วไปภาพออบลิกจะมีมุมเอียงเท่าใดก็ได้แต่ต้องน้อยกว่า  90  องศา  ซึ่งที่นิยมเขียนในงานเขียนแบบคือมุมเอียง  45  องศา  ซึ่งลักษณะของภาพออบลิกที่นิยมเขียนมี  2  ลักษณะคือ  แบบเต็มส่วน  (Cavalier  Oblique)  และแบบครึ่งส่วน  (Cabinet  Oblique)
 




ภาพที่  6.20  แสดงชนิดของการเขียนภาพออบลิก
 
 

จากภาพที่  6.20  ภาพออบลิกแบบเต็มส่วน  จะมีสัดส่วนของด้านกว้าง  ยาว หนา เป็น 1:1:1  ส่วนภาพออบลิกแบบครึ่งส่วน  จะมีสัดส่วนทั้ง  3  ของด้านกว้าง  ยาว หนา  เป็น  1:1:0.5

3.       การจัดวางภาพออบลิก
การเขียนภาพออบลิกจะต้องจัดวางภาพให้เหมาะสม  ง่ายต่อการเขียนและมองภาพ  โดยยึดหลักการที่ว่าให้เลือกด้านที่ชัดเจนและแสดงรายละเอียดมากที่สุดเป็นภาพด้านหน้าดังภาพที่  6.21

 



ภาพที่  6.21  แสดงการเปรียบเทียบการจัดวางภาพที่เหมาะสมและไม่เหมาะสม
 
 

4.       การวางตำแหน่งและทิศทางการเขียนภาพออบลิก
การวางตำแหน่งและทิศทางของแนวแกนในการเขียนภาพออบลิก  สามารถทำได้  4  ลักษณะคือ  เอียงขวา  เอียงซ้าย  เอียงขวากลับข้าง  และเอียงซ้ายกลับข้าง  ดังตัวอย่างในภาพที่  6.22
 


 
ภาพที่  6.22  แสดงการวางตำแหน่งและทิศทางของแนวแกนในการเขียนภาพออบลิก




5.       ขั้นตอนการสร้างวงรีบนภาพออบลิก
ในหัวข้อนี้จะยกตัวอย่างการเขียนภาพวงรีที่ด้านบนและด้านข้างขวาของภาพออบลิก
 
  

ภาพที่  6.23  แสดงลักษณะของวงรีบนภาพออบลิก
 

ตารางที่  6.5  แสดงขั้นตอนการสร้างภาพวงรีที่ด้านบนของภาพออบลิก
 
 



ตารางที่  6.6  แสดงขั้นตอนการสร้างภาพวงรีที่ด้านข้างของภาพออบลิก
 
 





6.       การบอกขนาดบนภาพออบลิก
การบอกขนาดบนภาพออบลิกนั้น  มีหลักการเช่นเดียวกันกับการบอกขนาดบนภาพไอโซเมตริกและภาพฉายรวมกันดังตัวอย่างในภาพที่  6.24
 


 
ภาพที่  6.24  แสดงขั้นตอนการเขียนภาพออบลิกและการบอกขนาด
 
 

7.       ตัวอย่างการเขียนภาพออบลิก
ตัวอย่างที่  1  ขั้นตอนเขียนภาพออบลิกจากภาพฉาย
 


 
ภาพที่  6.25  แสดงขั้นตอนการเขียนภาพออบลิก
 
 

ตัวอย่างที่  2  ขั้นตอนการเขียนภาพออบลิกจากภาพฉาย
 




 
ภาพที่  6.26  แสดงขั้นตอนการเขียนภาพออบลิก

1 ความคิดเห็น:

  1. Slot City Casino, Hotel, RV Park, CA (Mapyro
    Slot City Casino, 부산광역 출장마사지 Hotel, RV Park, CA (Mapyro). Description. This casino features 대전광역 출장마사지 slot machines, table games, 부천 출장마사지 and all the 여주 출장샵 amenities you  경주 출장마사지 Rating: 4.3 · ‎29 votes

    ตอบลบ