วันศุกร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2560

การเขียนภาพฉาย

การเขียนภาพฉาย           การเขียนภาพฉาย เป็นวิธีเขียนอีกแบบหนึ่งที่เขียนแล้วสามารถมองเห็นลักษณะและรูปทรงของสิ่งนั้นๆ ได้ง่ายตามความเป็นจริง เพราะแบบงานที่จะนำไปใช้ผลิตจะต้องเป็นแบบที่มีรายละเอียดครบถ้วน วิธีการเขียนภาพฉายนั้นจะต้องเขียนลักษณะรูปทรงครบทุกด้าน คือด้านบน ด้านล่าง ด้านข้างซ้าย ด้านข้างขวา ด้านหน้า และด้านหลัง แต่ถ้าเป็นรูปทรงที่มีลักษณะด้านตรงข้ามเหมือนกันก็นิยมเขียนเพียง 3 ด้าน คือ ด้านบน ด้านหน้า และด้านข้าง
        ลำดับขั้นการเขียนแบบภาพฉาย
ภาพตู้ยา
        1.1  ให้ภาพที่มีรายละเอียดมากที่สุดเป็นด้านหน้า
                                                         
         1.2  ร่างเส้นฉายภาพด้วยเส้นบาง (เส้นสีฟ้า) ไปยังด้านบนเพื่อที่ต้องการทราบระยะว่ามีขนาดความยาวเท่ากับด้านหน้า
         1.3  เขียนภาพด้านบนให้อยู่ทางด้านบนของภาพด้านหน้า
         1.4  ร่างเส้นฉาย (เส้นสีฟ้า) จากภาพด้านหน้าไปยังด้านข้างโดยให้มีความสูงเท่ากับภาพด้านหน้าส่วนความกว้างของภาพด้านข้าง ให้ร่างเส้นฉายลงมาตัดกับเส้นที่เอียงทำมุม 45 องศา จากจุดตัดกับเส้น 45 องศา ให้ร่างฉายมายังภาพด้านบน (เส้นสีแดง)
         1.5  ลบเส้นร่าง(เส้นสีฟ้าและสีแดง) ออกใ้ห้หมด
         1.6  เติมรายละเอียดโดยการเขียนเส้นบอกขนาดของภาพ ด้วยเส้นบอกขนาดและเขียนกำกับใต้ภาพว่าเป็นภาพฉายด้านไหน
2.  การเขียนแบบภาพออบลิค
            รูปออบลิคเป็นแบบภาพสามมิติอีกชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายกับรูปไอโซเมตริก ส่วนที่แตกต่างกันคือ  ภาพออบลิคจะแสดงด้านหน้าตรงๆ ส่วนด้านข้างจะทำมุม 45 องศา เพียงด้านเดียว คือด้านขวามือ  เนื่องจากภาพออบลิคแสดงด้านหน้าได้ชัดเจนดี  จึงนิยมเขียนภาพที่มีรายละเอียดด้านหน้ามาก ๆ
    ลำดับขั้นการเขียนแบบภาพออบลิค
    2.1      ให้เขียนภาพด้านหน้าก่อน
    2.2      ขีดเส้นด้านข้าง 45 องศา

    2.3      ขีดเส้นตั้งฉากและเส้นระนาบให้ครบ


    2.4      จะได้ภาพออบลิค

     ข้อสังเกตในการเขียนแบบภาพออบลิค
                    1.  มุมที่ใช้ในการเขียนแบบภาพออบลิคจะมีเพียง 2 มุมเท่านั้นคือ 45, 90  เส้นที่ขีดทำมุมด้านขวามือจะเป็นมุม 45 องศา  ส่วนเส้นที่ลากขึ้นหรือลากลงจะเป็นมุม 90 องศา
                    2.  เส้นที่ขีดจะเป็นเส้นขนานกันโดยตลอดคือ เส้นที่ลากทำมุมด้านขวาก็จะขนานกันกับด้านขวา เส้นที่ลากด้านซ้ายเป็นเส้นระนาบ และเส้นที่ลากขึ้นหรือลงก็จะขนานกัน
                    3.  การเขียนเส้นระนาบเส้นแรกควรให้อยู่ด้านล่างเพราะภาพที่เขียนจะอยู่ด้านบนและควรคำนึงถึงความสูงของภาพด้วย
                    4.  ก่อนที่จะเขียนเส้นตั้งฉากจะต้องคำนึงถึงความยาวด้านหน้าของภาพด้วย

    ตัวอย่างภาพออบบริค
    ที่มา : หนังสือเรียนงานช่างม.1-ม.3 สำนักพิมพ์วัฒนาพานิชย์
    3. การเขียนภาพไอโซเมตริก
    การเขียนแบบภาพไอโซเมตริกเป็นภาพลักษณะสามมิติอีกแบบหนึ่งของการเขียนแบบ  มีลักษณะเป็นภาพที่มองเห็นจากมุมที่กำหนดเป็นจุดเริ่มต้น  การสร้างภาพไอโซเมตริกนี้จึงเป็นการวัดเอาขนาดกว้าง ยาว ของด้านต่าง ๆ มาเป็นขนาดในภาพนั้นเอง  การเขียนแบบภาพไอโซเมตริกนี้จะแสดงการเขียนโดยใช้มุมทั้งสองข้างเท่ากัน คือ เป็นมุม 30 องศา โดยวัดจากเส้นระนาบ

    ลำดับขั้นตอนการเขียนแบบภาพไอโซเมตริก
       3.1     ขีดเส้นระนาบ
                                                             
       3.2     ขีดเส้นตั้งฉากและ 30 องศา ซ้ายและขวา
        3.3      ขีดเส้นตั้งฉากและ 30 องศา ซ้ายและขวา
        3.4    ขีดเส้น 30 องศา ซ้ายและขวา
        ข้อสังเกตในการเขียนแบบภาพไอโซเมตริก
                   1.   มุมที่ใช้ในการเขียนแบบภาพไอโซเมตริกนี้จะมีเพียง 2 มุมเท่านั้นคือมุม 30 และ 90  กล่าวคือ เส้นที่ขีดทำมุมด้านซ้ายและขวา จะทำมุม 30 องศา  ส่วนเส้นที่ขีดขึ้นหรือขีดลงจะเป็นมุม 90 องศา
                   2.   เส้นที่ขีดจะเป็นเส้นขนานกันโดยตลอดคืนเส้นที่ทำมุมด้านซ้ายก็จะขนานกัน เส้นที่ลากด้านขวากจะขนานกัน และเส้นตั้งฉากก็จะขนานกัน
                   3.   การเขียนเส้นระนาบเส้นแรกควรให้อยู่ด้านล่างเพราะภาพที่เขียนจะอยู่ด้านบนและควรคำนึงถึงความสูงของภาพที่จะเขียนด้วยเพื่อไม่ให้ภาพที่เขียนล้นกรอบกระดาษเขียนแบบ
                   4.   ก่อนที่จะเขียนเส้นตั้งฉากจะต้องดูก่อนว่าภาพเอียงไปด้านใด หากภาพที่จะเขียนเอียงด้านซ้ายเส้นตั้งฉากจะต้องอยู่ด้านขวา เป็นต้น

      ตัวอย่างภาพไอโซเมตริก
      ที่มา : หนังสือเรียนงานช่างม.1-ม.3 สำนักพิมพ์วัฒนาพานิชย์
    การอ่านค่าความยาวและมาตราส่วน
    บอกขนาดของชิ้นงาน ที่มา : http://kruning.cocons.co.th/index.php/vocation/drawing/ 
      การอ่านค่าความยาว  งานเขียนแบบแบ่งการวัดขนาดเป็น 2 ระบบใหญ่ ๆ คือ
      1.  ระบบนิ้ว ( ระบบอังกฤษ )  การวัดระบบนี้จะใช้หน่วยเป็นนิ้ว
      2.  ระบบเมตริก  การวัดระบบนี้ใช้หน่วยเป็นมิลลิเมตร  เซนติเมตร  เมตร
                 มาตราส่วน ( SCALE ) หมายถึง อัตราที่ใช้ย่อหรือขยายส่วน
                 การเขียนแบบโดยทั่วไป ภาพที่เขียนแบบจะมีขนาดที่สัมพันธ์พอเหมาะกับขนาดกระดาษเขียนแบบเสมอ เมื่อมองภาพแล้วเห็นรายละเอียดได้ชัดเจนสมบูรณ์ ฉะนั้นการเลือกใช้มาตราส่วนที่เหมาะสมกับขนาดกระดาษเขียนแบบ ผู้เขียนแบบจึงต้องควรคำนึงถึงมาก

      มาตราส่วน แบ่งออกเป็น 3 ชนิด
      1.  มาตราส่วนย่อ  ( BRIEF SCALE ) เช่น 1 : 10 อ่านว่า  หนึ่งต่อสิบ  หมายถึง ของจริง 10 ส่วน เขียนลงในกระดาษเขียนแบบ 1 ส่วน
      2.  มาตราส่วนขยาย ( EXTENDED SCALE ) เช่น 10 : 1 อ่านว่า  สิบต่อหนึ่ง  หมายถึง ของจริง 1 ส่วน เขียนลงในกระดาษเขียนแบบ 10 ส่วน
      3.  มาตราส่วนเท่าของจริง ( FULL SCALE ) เช่น 1 : 1 อ่านว่า  หนึ่งต่อหนึ่ง  หมายถึง ของจริง 1 ส่วน เขียนลงในกระดาษเขียนแบบ 1 ส่วน
                สำหรับมุมต่าง ๆ ที่มีอยู่ในแบบไม่ว่าจะเป็นมุมตรงไหนก็ตาม จะไม่มีผลต่อการใช้มาตราส่วน กล่าวคือมุมไม่ต้องทำการย่อหรือขยายแต่ประการใด เช่น มุม 60 ไม่ว่าจะใช้มาตราส่วนย่อหรือมาตราส่วนขยาย มุม 60 ก็ยังเป็นมุม 60 อย่างเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
                สำหรับการเขียนค่าของตัวเลขบอกขนาด  ก็เช่นเดียวกันกับมุมต่าง ๆ ไม่ว่าจะใช้มาตราส่วนย่อหรือขยายก็ตาม  การกำหนดขนาดจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น  ขนาดความยาวของวัตถุ 15 เซนติเมตร  มาตราส่วนไม่ว่าจะย่อหรือขยาย  การเขียนตัวเลขบอกขนาดก็เขียน 15 เซนติเมตรเท่าเดิม
      ตัวอย่าง เช่นมาตราส่วนปกติ  1: 1     1 : 1  หมายความว่า ขนาดที่เขียนเท่ากับขนาดจริงของชิ้นงาน
    ขนาดที่เขียนแบบ                ชิ้นงานจริง ที่มา : http://kruning.cocons.co.th/index.php/vocation/drawing/ 
      มาตราส่วนลดหรือย่อ  1 : 2, 1 : 5, 1 : 10, 1 : 20, 1 : 50, 1 : 100 1 : 200, 1 : 500, 1 : 1,000 , 1 : 2,000,1 : 5,000  1 : 10,000
      1 : 2  หมายความว่าเป็นการเขียนย่อขนาดภาพให้เล็กลงเช่น ขนาดที่เขียน 10 มม. ขนาดจริง 20 มม.

     
    บอกขนาดของชิ้นงาน ที่มา : 
    http://kruning.cocons.co.th/index.php/vocation/drawing/ 
      มาตราส่วนขยาย  2 : 1,   5 : 1,   10 : 1,   20 : 1,    50 : 1,  2 : 1  หมายความว่าเป็นการเขียนขยายภาพให้ใหญ่ขึ้น เช่นขนาดที่เขียน 40 มม. ขนาดจริง 20  
     ขนาดที่เขียนแบบ                    ชิ้นงานจริง ที่มา : http://kruning.cocons.co.th/index.php/vocation/drawing/
        สำหรับการใช้ในกรณีพิเศษ มาตราส่วนขยาย หรือมาตราส่วนลด สามารถคูณ หาร ด้วยตัวเลขจำนวนเต็มของฐานสิบ หลาย
    การกำหนดขนาดมิติ
    มาตรฐานการกำหนดขนาดมิติ ตาม DIN 406-11 และ DIN ISO 128-22             
      ขนาดชิ้นงาน
     
     มาตรฐานการกำหนดขนาดมิติ
    ที่มา : http://kruning.cocons.co.th/index.php/vocation/drawing/
      -  กำหนดด้วยหน่วยมิลลิเมตร โดยไม่ต้องเขียนหน่วยลงไปในแบบ
      -  การกำหนดขนาดสำหรับหน่วยอื่น เช่น นิ้ว,เมตร ให้เขียนหน่วยลงไปในแบบด้วยการกำหนดขนาดประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้ คือ
       เส้นช่วยบอกขนาด
     
    เส้นช่วยบอกขนาด
    ที่มา : http://kruning.cocons.co.th/index.php/vocation/drawing/
      -  มีความหนาเส้น 0.25 มิลลิเมตร  เป็นเส้นเต็มบาง  เขียนต่อจากขอบของชิ้นงาน และเขียนเลยหัวลูกศรประมาณ 2 มิลลิเมตร ส่วนมากเขียนตั้งฉากกับเส้นบอกขนาด
     
    เส้นบอกขนาด
    ที่มา : http://kruning.cocons.co.th/index.php/vocation/drawing/
      -   เส้นบอกขนาดมีความหนาเส้น 0.25 มิลลิเมตร เป็นเส้นเต็มบาง และมีหัวลูกศรบริเวณหัวและท้ายเส้น
      -   เส้นบอกขนาด จะเขียนเส้นตั้งฉากกับเส้นช่วยกำหนดขนาด
      -   เส้นบอกขนาดห่างจากขอบชิ้นงาน  10 มิลลิเมตร และมีระยะห่างระหว่างเส้นบอกขนาดด้วยกัน 7 มิลลิเมตร
      -   เส้นบอกขนาดเส้นที่สั้นที่สุดอยู่ใกล้แบบงานมากที่สุด
      -   การบอกขนาดที่มีทรงสมมาตร  บอกตามแนวขวางเส้นศูนย์กลางที่อยู่เลยขอบชิ้นงานออกไปประมาณ 2 – 3  มิลลิเมตร  ชิ้นงานที่เป็นแผ่นบางเขียนเพียงด้านเดียว ความหนาของวัสดุชิ้นงานให้ใส่ตัวอักษร T กำกับ
       ตัวเลขบอกขนาด
     
    ตัวเลขบอกขนาด
    ที่มา : http://kruning.cocons.co.th/index.php/vocation/drawing/
        -   ขนาดตัวเลขบอกขนาด มีขนาดอย่างน้อย 3.5 มิลลิเมตร ใส่ไว้เหนือเส้นบอกขนาด โดยอ่านได้จากข้างล่างหรือขวามือ เมื่อแบบอยู่ในตำแหน่งอ่าน (ทิศทางอ่านของหัวกระดาษ)
      -   กรณีที่มีเส้นขนานหลายเส้น หรือเส้นบอกขนาดอยู่ในแนวเดียวกัน ให้เขียนตัวเลยกำหนดขนาดสลับกับลูกศร
      -   ถ้าพื้นที่เขียนตัวเลขจำกัด  อนุญาตให้เขียนเส้นชี้บอกขนาด หรือตัวเลขบอกขนาดไว้บนเส้นช่วยบอกขนาดที่ต่อเลยออกไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น